อาการไข้หรือตัวร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของร่างกายอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้นสามารถมีสาเหตุมาจากหลายประการ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติเชื้อเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาการเป็นไข้ตัวร้อนนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง เราไปรู้ไปพร้อมๆกันดีกว่าค่ะ
อาการไข้หรืออาการตัวร้อน มักเกิดจากที่ร่างกายผลิตสารบางอย่างที่ไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่สมองส่วนฮัยโปทาลามัสส่วนหน้า ทำให้อุณหภูมิแกนกลางเพิ่มขึ้นเพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ เช่น ลดการเพิ่มจำนวนชองเชื้อไวรัส เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้นยังสามารถเพิ่มขึ้นได้จากการรพบายความร้อนที่ไม่เพียงพอ เช่น ลมแดด หรือการใช้กล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายที่มากเกินไป
ปกติสุนัขและแมวมีอุณหภูมิอยู่ที่เท่าไหร่
ปกติในสุนัขและแมวจะสูงกว่าอุณหภูมิร่างกายขางคนอยู่เล็กน้อย ดังนั้นเวลาเราจับตัวสุนัขหรือแมวจะพบว่าเขาอุณหภูมิสูงกว่าเรา ดีที่สุดเราควรทำการวัดไข้ด้วยปรอทวัดไข้ โดยเราจะทำการวัดอุณหภูมิจากบริเวณรูทวาร อุณหภูมิปกติในสัตว์เลี้ยงจะอยู่ที่ 100-102.5 องศาฟาเรนไฮต์ หากอุณหภูมิสูงเกินกว่า 105 องศาฟาเรนไฮต์ จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะหรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นจากสาเหตุลมแดดหรือการออกกำลังกายที่มากเกิดไปก็ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
แล้วสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
โรคติดเชื้อ (แบคทีเรียเช่นแผลฝี หนอง, การติดเชื้อในช่องหู)
โรคการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ)
โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตนเอง
โรคเนื้องอก (โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือด)
การบาดเจ็บหรือการตายของเนื้อเยื่อ
ความไม่สามารถกระจายความร้อน (ลมแดด)
อุณหภูมิและ/หรือความชื้นสูงเกินไปในสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมการออกกำลังกายที่มากเกินไป
การชัก
หากมีอาการไข้หรือตัวร้อนสัตวแพทย์จะทำอะไรในการวิเคราะห์และการวินิจฉัย
หากพบว่าสัตว์เลี้ยงมีไข้ สัตวแพทย์จะทำการซักประวัติเพิ่มเติม เช่น สัตว์เลี้ยงมีอาการซึมหรือเบื่ออาหารร่วมด้วยหรือไม่ บางครั้งอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นอาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูงหรือความตื่นเต้นของสัตว์เลี้ยงเราควรจะสังเกตุว่าสัตว์เลี้ยงแสดงอาการการหายใจเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงจะไม่มีต่อมเหงื่อที่ร่างกายเหมือนคน การหอบหายใจเพื่อเป็นการระบายความร้อนนั้นเอง หากพบว่าสัตว์เลี้ยงอ้าปากหายใจ มีลมหายใจร้อน บริเวณที่ไม่มีขนปกคลุมเช่น ท้อง ขาหนีบ ใบหูด้านในมีอุณหภูมิสูงขึ้น หากพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงมากๆควรรีบประถมพยาบาลและพาน้องๆไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินส่งผลต่อชีวิตได้เลยค่ะ แต่เราไม่ควรป้อนยาให้สัตว์เลี้ยงเอง โดยเฉพาะยาพาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ที่ใช้ลดไข้ในคน เพราะเป็นพิษต่อร่างกายของสัตว์เลี้ยงอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในแมว
นอกจากประวัติเรื่องซึม เบื่ออาหาร สัตวแพทย์มักจะซักประวัติต่อถึงเรื่องสุขภาพร่างกายโดยรวม อาทิเช่น ไอ จาม อาการของโรคทางเดินปัสสาวะล่าง หรือท้องเสีย ประวัติกการฉีดวัคซีนของสัตว์เลี้ยง สัตวแพทย์จำทำการการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม อาการที่มักจะกระตุ้นให้เกิดอาการไข้ตัวร้อนได้ เช่น แผลฝี การติดเชื้อในช่องปาก ปอดอักเสบติดเชื้อ การพบของเหลวไหลออกจากอวัยวะเพศ ความเจ็บปวดที่กระดูกและข้อ รวมถึงการตรวจถึงโรคที่เกิดจากไวรัส รวมถึงโรคทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (FIV), ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว (FeLV) หรือโรคติดเชื้อช่องท้องแมว (FIP) อาการที่บ่งชี้ถึงโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันตนเองหรือโรคการอักเสบที่ไม่ใช่ติดเชื้ออาจรวมถึงข้อที่บวมหรือเจ็บ เป็นต้น ดังนั้นสัตวแพทย์จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการไข้และรักษาได้ตรงตามสาเหตุค่ะ
เมื่อสัตว์เลี้ยงมีไข้ต้องทำอย่างไร
ในสัตว้เลี้ยงที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 105 องศาฟาเราไฮต์ ควรรีบพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพราะน้องๆต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน สัตว์เลี้ยงเหล่านี้มักแสดงอาการของการขาดน้ำและ/หรือช็อกจากปริมาณเลือดลดลง ควรทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลงโดยใช้พัดลมน้ำเย็นหรือการพ่นแอลกอฮอล์บริเวณฝ่าเท้า ควรหลีกเลี่ยงน้ำเย็นและน้ำแข็งเนื่องจากอาจทำให้เส้นเลือดหดตัวและลดการกระจายความร้อน เช็นตัวสัตว์เลี้ยงด้วยผ้าหมาดน้ำอุณหภูมิห้องโดยเช็ดย้อนขนจางหางมาทางหัวร่วมกับใชัพัดลมพัด เน้นเช็ดที่ข้อพับขา ฝ่าเท้า ใบหูและหน้าท้อง เป็นต้น หากอุณหภูมิร่างกายเริ่มลดลงจนประมาณ 103 องศาฟาเราไฮต์ แล้วควรหยุดลดอุณหภูมิร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไฮโปเธอร์เมีย หรือภาวะที่อุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไป
แนวทางการรักษาของสัตวแพทย์
เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น สัตวแพทย์จำทำการแก้ไขภาวะฉุกเฉินกรณีที่ไข้สูงมากๆก่อน หลังจากนั้นสัตวแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ อาจรวมไปถึงการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าเคมีในกระแสเลือดที่บ่งบอกการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย เพราะสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละสาเหตุก็มีแนวทางการรักษาและการจัดการที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ที่มีไข้จากการติดเชื้อแบคทีเรียจากแผลฝี แผลหนอง แผลติดเชื้อ หรือสัตว์ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบปัสสาวะหรือทางเดินหายใจควรได้รับยาปฏิชีวนะ วิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงที่ได้รับการวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์ที่ดูแล โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของสัตว์ตัวนั้นๆ
เรียบเรียงโดย
สัตวแพทย์หญิงนริสา พลอยแก้ว
ผู้จัดการสัตวแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์เมตตา
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ