การติดเชื้อfeline herpesvirus (FHV-1) คืออะไรวันนี้ แอดมินขอนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาให้รู้จักกันค่ะ
🐈มาทำความรู้จักเชื้อ feline herpesvirus (FHV-1)
เชื้อ feline herpesvirus (FHV-1) เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในแมวทั่วโลก จากการสำรวจพบแมวที่มีผล seropositive ต่อเชื้อ FHV-1 มากถึง 97% โดยแมวประมาณ 80% ซึ่งแมวที่ติดเชื้อจะเป็นพาหะนำโรคไปตลอดชีวิต โดยทั่วไปแมวสามารถขับเชื้อออกมาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยภาวะเครียดจากภาวะต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ ช่วงหลังผ่าตัด ช่วงตั้งครรภ์หรือให้นม
มีสัตว์ตัวใหม่เข้ามารบกวนอาณาเขต
🐈การติดต่อของเชื้อfeline herpesvirus (FHV-1)
การติดต่อเชื้อเกิดจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่มาจาก ปาก จมูก หรือน้ำตา ในแมวปกติและแมวป่วยที่อยู่ใกล้ชิดกัน ในแม่แมวที่เครียดจากการคลอดลูกหรือจากการให้นม อาจขับเชื้อออกมาสู่ลูกแมวและสิ่งแวดล้อม การเกิดโรคในลูกแมวขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลืองแรกคลอด เมื่อระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่เริ่มลดลง เชื้อก็จะถูกส่งผ่านมายังลูกแมวได้
🐈อาการของเชื้อfeline herpesvirus (FHV-1)
ทั้งแมวเด็กและแมวโตสามารถแสดงอาการติดเชื้อของโรคนี้ได้ทั้งคู่ แต่ในแมวเด็กจะมีอาการที่รุนแรงกว่า ในแมวเด็กมักมีอาการเจ็บตาและเยื่อตาอักเสบทั้งสองข้าง เริ่มจากการมีน้ำตาใส จนเริ่มขุ่นในเวลาต่อมา และบางตัวอาจพบเยื่อตาอักเสบร่วมกับกระจกตาอักเสบ จนเกิดการติดกันของเยื่อบุตาขาว
ในส่วนของแมวโตมักจะเกิดจาการติดเชื้อในระยะแฝงมากกว่าการติดเชื้อในระยะแรก โดยมีอาการเยื่อตาอักเสบข้างเดียว มากกว่าเยื่อตาอักเสบทั้งสองข้าง
มักเกิดการอักเสบข้างใดข้างหนึ่งซ้ำ ๆ อาจพบเยื่อตาขาวมีเลือดคั่ง หรือพบเยื่อบุตาบวม แต่มักแสดงอาการรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก
🐈การวินิจฉัยของเชื้อfeline herpesvirus (FHV-1)
ดูจากประวัติและอาการของน้องแมว นอกจากนี้การิตรวจตาพื้นฐาน เช่น การวัดน้ำตา การย้อมสีที่กระจกตา และวัดความดันลูกตา ล้วนมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคที่ตา โดยการตรวจนั้นจะเก็บตัวอย่างที่ตา ตัวอย่างที่ได้สามารถนำไปตรวจหาเชื้อดังกล่าวด้วยการทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (polymerase chain reaction; PCR) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีสำหรับการวินิจฉัย
🐈วิธีการรักษาโรคfeline herpesvirus (FHV-1)
แนะนำให้คุณเจ้าของมาพบสัตวแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาของน้องนะคะ ซึ่งในการรักษานั้นมีหลายองค์ประกอบรวมกัน เพราะฉนั้นต้องพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจดูอาการของน้องและวางแผนการรักษาและให้ยารักษาน้องต่อไปได้ค่ะ
🐈วิธีป้องกันโรคfeline herpesvirus (FHV-1)
✅ไม่ควรนำแมวตัวใหม่หรือแมวที่ยังไม่ผ่านการคัดกรองในการตรวจสุขภาพเข้ามาเลี้ยงรวมกันกับแมวในบ้าน
✅ทำความสะอาดภาชนะชามแมว ชามอาหาร กระบะทรายให้สะอาดอยู่เสมอ
✅ไม่ควรให้แมวอยู่ในภาวะเครียดจนภูมิตกค่ะ
✅กระตุ้นวัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อยู่เสมอค่ะ
เรียบเรียงโดย
คุณหรอซี หมัดเสะ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด โรงพยาบาลสัตว์เมตตา
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ